วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับช็อกโกแลต

ช็อกโกแลต



ช็อกโกแลต หรือ ช็อกโกเลต (อังกฤษ: chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก

ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นค้นพบโดยชาวอินเดียนแดงและชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้"

ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อแตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในอเมริกา อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้ว่า

    โกโก้ (cocoa) คือเมล็ดของต้นโกโก้
    เนยโกโก้ (cocoa butter) คือไขมันของเมล็ดโกโก้
    ช็อกโกแลต (chocolate) คือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของต้นโกโก้และเนยโกโก้

ช็อกโกแลตคือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของฝักถั่วโกโก้และเนยโกโก้ ซึ่งได้ผสมน้ำตาลและส่วนผสมอื่น ๆ และทำให้อยู่ในรูปของแท่งและรูปอื่น ๆ

เมล็ดของต้นโกโก้นอกจากทำเป็นช็อกโกแลตได้แล้วยังสามารถทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วย เช่น ช็อกโกแลตร้อน เครื่องดื่มช็อกโกแลตนั้นคิดค้นขึ้นโดยชาวอัซเตก (Aztecs) หลังจากนั้นโดยชนเผ่าอินเดียนแดงและชาวยุโรป

บ่อยครั้งที่ช็อกโกแลตมักจะทำให้อยู่ในรูปของสัตว์ต่าง ๆ คน หรือวัตถุในจินตนาการ เพื่อร่วมในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น รูปกระต่าย รูปทรงไข่ในเทศกาลอีสเตอร์ รูปของเหรียญหรือซานตาคลอสในเทศกาลคริสต์มาส และรูปทรงหัวใจในเทศกาลวาเลนไทน์

 ชนิดของช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมที่นิยมมาก และมีให้เลือกในหลากหลายรูปแบบ รูปแบบและรสชาติของช็อกโกแลตนั้นแตกต่างกันได้โดยส่วนผสมและปริมาณของส่วนผสมในช็อกโกแลต นอกจากส่วนผสมแล้วรสชาติยังแตกต่างกันโดยระยะเวลาและอุณหภูมิของการคั่วเมล็ดโกโก้ด้วย
ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน

ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน (unsweetened chocolate) คือ ช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์หรือที่รู้จักกันในนาม ช็อกโกแลตฝาด ใช้ในการอบอาหาร และเป็นช็อกโกแลตที่ไม่มีการเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติเข้มข้มและลุ่มลึกของช็อกโกแลตบริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไป ช็อกโกแลตชนิดนี้จะใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำบราวนี เค้ก ลูกกวาด และคุกกี้

ช็อกโกแลตดำ (dark chocolate) คือช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มนมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งบางครั้งก็เรียกเป็นช็อกโกแลตธรรมดา แต่ว่าทางรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกเป็นช็อกโกแลตหวาน และกำหนดให้มีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 15% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 35% ช็อกโกแลตดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ป้องกันมิให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจเลือดตีบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัว สาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือด และป้องกันความดันโลหิตสูง

ช็อกโกแลตนม (milk chocolate) คือช็อกโกแลตที่ผสมนมหรือนมข้นหวาน รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดว่าหากจะเรียกว่าช็อกโกแลตนม ต้องมีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 10% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 25% ช็อกโกแลตชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ (cocoa butter) นม และยังเพิ่มความหวานและรสชาติลงไปด้วย ช็อกโกแลตนมนี้ใช้สำหรับแต่งหน้าขนมได้เป็นอย่างดี ช็อกโกแลตนมที่ทำในประเทศสหรัฐฯ ต้องประกอบด้วยน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 10% และนมที่ไม่ได้เอามันเนยออก 12%




ช็อกโกแลตลิเคียวร์ เป็นผลผลิตจากเมล็ดโกโก้นำมาบดละเอียด แล้วนำมาคั้นเอาแต่น้ำ น้ำช็อกโกแลตนี้สามารถทำให้เย็นและทำให้แข็งตัวโดยใส่พิมพ์ไว้ แต่ช็อกโกแลตที่ได้เป็นชนิดที่ไม่หวาน น้ำช็อกโกแลตนี้จะมีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ประมาณ 53%


 ช็อกโกแลตกึ่งหวาน (semi-sweet) อยู่ในรูปของเหลวแล้วเพิ่มความหวานและใส่เนยโกโก้ลงไปด้วย สีของช็อกโกแลตชนิดนี้สีจะเข้ม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ จะมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตประมาณ 35% และมีไขมันประมาณ 27% ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสหวานเล็กน้อยและกลมกล่อม




ช็อกโกแลตหวาน (sweet chocolate) ช็อกโกแลตชนิดนี้จะเพิ่มความหวานลงไปมากกว่าช็อกโกแลตแบบหวานน้อย และมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 1 % ช็อกโกแลตชนิดนี้ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนมและตกแต่งขนม และยังมีไขมันเท่า ๆ กับช็อกโกแลตแบบหวานน้อย



ช็อกโกแลตขาว (white chocolate) ชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ แต่ไม่มีโกโก้ที่อยู่ในรูปของไขมัน แต่จะประกอบไปด้วยน้ำตาล เนยโกโก้ นมสด และใส่กลิ่นวานิลลาลงไปด้วย ช็อกโกแลตขาวนี้จะแตกหักง่าย หากเป็นของปลอมจะทำมาจากน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้






 ลิควิดช็อกโกแลต เป็นช็อกโกแลตที่ไม่หวาน ส่วนใหญ่จะบรรจุขายเป็นขวด ขวดละ 1 ออนซ์ และเนื่องจากมันไม่ละลายจึงสะดวกในการใช้มาก โดยพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ทำขนมอบ อย่างไรก็ดีเนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้ ซึ่งเนื้อช็อกโกแลตจะแตกต่างกัน ปกติแล้วช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสไม่หวาน
 


 ช็อกโกแลตชนิดกูแวร์ตูร์ (couverture) เป็นชนิดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือจะเป็นมันเงา โดยปกติจะมีส่วนผสมของเนยโกโก้อย่างน้อยที่สุด 32% ทำให้มันสามารถคงตัวอยู่ในรูปของไขได้ดีกว่าชนิดเคลือบ ปกติแล้วจะใช้เฉพาะในร้านที่ทำขนมหวานเท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในรูปของส่วนที่เคลือบอยู่ภายนอกผลไม้หรือหุ้มไส้ช็อกโกแลตอยู่





 กานาช ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีลักษณะข้นมาก เป็นที่นิยมนำไปทำเค้กช็อกโกแลต กานาชทำโดยการเทวิปปิงครีมที่นำไปอุ่นลงไปในช็อกโกแลตสับในปริมาณที่เท่ากัน ทิ้งไว้สักครู่จนช็อกโกแลตเริ่มละลายและคนให้เข้ากัน จะได้ส่วนผสมที่ข้นขึ้น อาจเติมเนยในปริมาณเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความเงาให้กับกานาชด้วย


 Confectionery Coating  เป็นช็อกโกแลตที่ใช้เคลือบลูกกวาด โดยนำไปผสมกับน้ำตาล นมผง น้ำมันพืช และสารปรุงแต่งรสชาติต่าง ๆ มีสีสันหลากหลาย ลูกกวาดที่ได้นี้ผงโกโก้จะมีไขมันต่ำ แต่จะไม่มีส่วนผสมของเนยโกโก้ เหมือนชนิดอื่น ๆ จึงแยกออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งได้


ข้อดีของช็อกโกแลต
การวิจัยหลายสำนักบอกว่า สารฟลาโวนอยด์สที่มีอยู่ในช็อกโกแลตช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งบางชนิด และป้องกันไม่ให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันความดันโลหิตสูง และยังช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้อีกด้วย ส่วนสารทีโอโบรไมน์ (Theobromine) มีฤทธิ์คล้ายกาเฟอีนช่วยหยุดอาการไอเรื้อรังได้ ส่วนสารเฟนิลไทลามิน (Phenylethylamine) เชื่อว่าสามารถผลิตความรู้สึกที่เรียกว่า "รัก" ได้ นอกจากผลทางสุขภาพผู้คนก็นิยมนำมาพอกตัวทำสปาเพื่อผิวพรรณความงามภายนอก ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะได้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสเพราะช็อกโกแลตมีวิตามินเอและอีที่จะเป็นตัวช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิว รักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวกาย ช่วยชะลอความแก่เหี่ยวย่น นอกจากนี้ แมกนีเซียมในช็อกโกแลตยังช่วยคลายกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายความตึงเครียดจากอาการเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

ข้อเสียของช็อกโกแลต

แต่ของทุกอย่างมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย อย่างสารเฟนิลไทลามิน ทีโอโบรไมน์ และกาเฟอีน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงได้  นอกจากนี้ช็อกโกแลตยังให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็กค่อนข้างสูง หากกินมากเกินไปอาจส่งปัญหาด้านสุขภาพทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น


ที่มา : นิตยสาร HEALTH&CUISINE รายเดือน ปีที่ 11 ฉบับที่ 124 พฤษภาคม 2554
          วารสาร สุขสาระ  ปีที่ 9 ฉบับที่ 106 เดือนตุลาคม 2555
          วารสาร เวอรีน่าคลับ ฉบับเดือน มีนาคม-เมษายน2556

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สารสนเทศเพื่อการจัดการ


(Management Information System)
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหารขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)

             เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
1. ระบบประมวลผล
ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การจัดการข้อมูล
ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

                สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ อ่านต่อ


อ้างอิง : กิติมา  เพชรทรัพย์.2548. สารสนเทศเพื่อการจัดการ.[Online] Available URL ; 

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ OpenBiblio


OpenBiblio 
          OpenBiblio เป็น Open Source Software  ในการจัดบริหารจัดการห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Libarary System : ILS) ซึ่งได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานสากล  สามารถรองรับการทำงานในโมดูลต่างๆ การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ  (Cataloging) การวืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Acess Cataloing : OPAC) การยืม-คืน (Circulation)  และการจัดทำ  Label  รวมถึงรายงาน (Reports)  ติดตั้งและใช้ง่ายไม่ซับซ้อน  ประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่าย  เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก  พัฒนาด้วยภาษา PHP ลิขสิทธิ์โดย GNU General Public License  (GPL)
แนะนำระบบห้องสมุด
         โดยทั่วไปแล้วงานในห้องสมุดหรือหน้าที่ (Function/Module)  ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการนั้น มี  5  โมดูล  ได้แก่
    1. งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition  Module)
    2. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging Module)
    3. งานบริการยืม-คืน (Circulation Module)
    4. งานสืบค้นออนไลน์ (Online Public Access Catalog)
    5. งานจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial Control Module)
         แต่ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการอย่างโปรแกรม Innopac, VTLS, Dynix เป็นต้น  ก็ยังใช้ไม่ครบทุกโมดูลที่ระบบมีให้  .........อ่านต่อ==> Click Download E-Book  โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ OpenBiblio

(ที่มา ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

บทความทางวิชาการ เรื่อง แนวคิดการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้



            ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide  ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ  ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล  การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้  ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา  แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก  ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
                   
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
                         1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (
Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
                         2.  การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น  ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่านInternet  เป็นต้น
                         3.  การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (
Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร 2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
                   
1.  การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
                         กระบวนการทางปัญญา (
Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
                                (1)  การรับรู้สิ่งเร้า (
Stimulus)
                                (2)  การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (
Concept)
                                (3)  การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (
Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
                                (4)  การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (
Deductive)
                                (5)  การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (
Generalization)
                                ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน  ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (
Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึก การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
                   2.  การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
                         การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (
Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจากElectronic Sources เช่น  ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ  โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ  ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้                             
แนวคิดของบิลล์ เกตส์ (Bill Gate) เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
                   1.  การเรียนไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน ในโลกยุคปัจจุบัน คนสามารถที่จะเรียนได้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) ซึ่งกำลังจะมีบทบาท และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาของมนุษย์
                   2.  ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล บิลล์ เกตส์ ได้อ้างทฤษฎีอาจารย์วิชาการศึกษาที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันจึงจำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกต่างกันออกไป
                   3.  การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายคน  การศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมาก โดยรูปแบบที่จัดเป็นรายชั้นเรียน ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยอำนาจ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นความฝันของนักการศึกษามานานแล้วนั้น สามารถจะเป็นจริงได้โดยมีครูคอยให้การดูแลช่วยเหลือ และแนะนำ
                   4.  การเรียนโดยใช้สื่อประสม  ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสมจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
                   5.  บทบาทของทางด่วนข้อมูล กับการสอนของครู  ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูล     จะทำให้ได้ครูที่สอนเก่ง จากที่ต่าง ๆ มากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนนั้นแทนที่จะใช้กับเด็กเพียงกลุ่มเดียว ก็สามารถสร้าง 
Web Site ของตนขึ้นมาเพื่อเผยแผ่ จะช่วยในการปฏิวัติการเรียนการสอนได้มาก
                   6.  บทบาทของครูจะเปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่ เช่น  ทำหน้าที่เหมือนกับครูฝึกของนักศึกษาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ เป็นเพื่อนของผู้เรียน เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก  และเป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งอันนี้ก็คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของครู
                   7.  ความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง  จะใช้ระบบทางด่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์  ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เช่น  การส่ง E-mailจากครู ไปถึงผู้ปกครอง
                   ความคิดของบิลล์ เกตส์นับเป็นการเปิดโลกใหม่ด้านการศึกษาด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และทางด่วนข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น    การปฏิวัติระบบการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม ถึงแม้ว่าเขาจะย้ำว่าห้องเรียนยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เพื่อลดการต่อต้านด้านเทคโนโลยี  แต่จากรายละเอียดที่เขานำเสนอ จะพบว่าการเรียนการสอนในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไปมาก  ความหวังของนักศึกษาทุกคนก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนได้เป็นรายบุคคลโดยมีการวางแผนร่วมกับครู ถ้าคนในวงการศึกษาไม่ปรับเปลี่ยนจะล้าหลังกว่าวงการอื่น ๆ อย่างแน่นอน

การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
                   
ปัจจัยพื้นฐาน คือ การสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสรรถนะและจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา จะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้           สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติม คือ
                         1.  ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                                
ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือ การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ และจากสื่อ 
Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                         2.  ครู และผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
                                
ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (
Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครู และผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตร หรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครู และนักเรียน
                         3.  สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
                                
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (
Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครู และผู้เรียน  ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library  จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า ในวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Software แถบบันทึกวีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom  และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
                         4.  การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                                
กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือน รายงาน
Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครู และนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practicesจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครู และนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
บทสรุป

                   
มีผู้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้ และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก  แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ       I : Information หรือสารสนเทศ ที่น่าจะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์ และความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครู และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
อ้างอิง

ครรชิต  มาลัยวงศ์. บทบาทของการศึกษาในยุคสังคมข่าวสารเทคโนโลยี, 2535 48.
รุ่ง  แก้วแดง. วิกติเนื่องจากการปฏิวัติเทคโนโลยี ตามแนวคิดของบิลล์ เกตส์. กรุงเทพฯ มติชน,  
                   2543 : 14 – 18.
ยืน  ภู่วรวรรณ. การประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านการศึกษา. เอกสารสัมมนาทางวิชาการ เรื่องบทบาท
                   และทิศทางเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2538.

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความสารสนเทศ


บรรณารักษ์...สู่...อินเตอร์
ผู้เขียน สุนิต เย็นสบาย

นับตั้งแต่สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ริเริ่ม ให้มีการจัดวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ในระดับประกาศนียบัตรเื่มื่อปีพุทธศักราช 2510 ซึ่งเป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกที่จัดให้สอนวิชานี้ ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ต่อมาในปีพุทธศักราช 2518 ได้รับอนุญาติให้จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีและในปีพุทธศักราช 2543 ได้จัดให้มีการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตลอดเวลาอันยาวนานกว่า 30 ปี ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศได้ผลิตบุคลากรออกไปรับใช้สังคมโดยการปฏิบัติงานในห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศต่างๆตลอดจนเป็นครูและอาจารย์ในสถานศึกษาทุกระดับ จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นภาควิชาหนึ่งในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่สามารถผลิตบัณฑิตได้อย่างมีคุณภาพแห่งหนึ่งในประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม หน้า 14


ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความทาง วารสารสารสนเทศ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคมถึง - ธันวาคม 2543
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บริการสารสนเทศด้วยระบบอินเตอร์เน็ต


บริการในระบบอินเตอร์เน็ต
เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมด จนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่าง    รวดเร็ว   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต  มีดังนี้
          1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mai l : E-mail) เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกัน  ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย   แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้งานเองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ (E-mail address) เช่น   chaiya3 @yahoo.com 
           2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ในกรณีที่โอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า  ดาวน์โหลด  (down load)   ส่วนการนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเรียกว่าอัพโหลด (up load)
          3.การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ( Telnet ) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายทำให้เรา สามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง  
           4.การสนทนา บนเครือข่าย(chat)  เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือเพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้                                                    
สนทนาด้วยMSN  
                                                                                                       
           5.การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมากฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก 


5.1.ยูสเน็ต (USENET) เปรียบเสมือนกระดานข่าวสารขนาดใหญ่หรือหนังสือพิมพ์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย
5.2.เวยส์ (WAIS) เป็นบริการช่วยค้นข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถถามคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ โดยเวยส์ สามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลทั้งที่เป็นบรรณานุกรมและข้อมูลเต็มรูป (Full Text)
5.3.อาร์ชี (ARCHIE) เป็นบริการช่วยค้นหาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการว่าเก็บอยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าผู้ใช้ต้องการแฟ้มข้อมูลใดก็สามารถค้นซื่อแฟ้มได้จากอาร์ชี เมื่อทราบสถานที่เก็บแฟ้มแล้วก็สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เรียกว่า FTP ต่อเชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลต่อไป โดยอาร์ชี จะแตกต่างจาก เวยส์ ตรงที่ต้องรู้ชื่อโปรแกรมที่ชัดเจนก่อนจึงจะใช้อาร์ชีได้
5.4.ไฮเทลเน็ต (HYTELNET) เป็นการใช้ระหว่างห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ระบบห้องสมุดและบริการข่าวสารของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้
5.5.โกเฟอร์ (GOPHER) เป็นบริการที่ทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดแห่งหนึ่งที่จัดเตรียมเมนู ทำหน้าที่เลือกหาข้อมูลที่ต้องการว่ามีบริการที่ใด โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งในการใช้งาน เพียงแค่เลือกหัวข้อในเมนูและเมื่อพบแล้วก็ใช้บริการได้ทันที


เครดิต : http://torarit.wordpress.com/  ผู้เขียน ศศิมา ธรฤทธิ์

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รางวัลส่วนตัว

รางวัล
• รางวัลเพลงรักแห่งปี “I Need Somebody” จาก In Young Generation Choice 2006
• รางวัลเพลงยอดนิยม “I Need Somebody” จาก Star Entertainment Awards 2006
• รางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี “I Need Somebody” จาก Seed Awards 2007
• รางวัลเพลงฮิตที่สุดแห่งปี “โทรมาว่ารัก” จาก Vergin Hitz Awards 2007
• รางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยม จาก Audition Music Awards 2008
• รางวัลนักร้องยอดนิยม จาก Siam Dara Stars Party 2008
• รางวัลนักร้องชายยอดนิยม จาก Young & Smart Vote Sudsapda Awards 2008
• รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม จาก Top Awards 2008
• รางวัลขวัญใจมหาชน จาก 9 Entertainment Awards 2009
• การขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากล (ชาย) จาก รางวัลเพชรในเพลง
• รางวัลลูกกตัญญู โดยสภาสังคมสงเคราะห์ฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
• รางวัลพรีเซนเตอร์ชายยอดนิยม จาก OHO Awards 2009
• รางวัลศิลปินชายฮอต แห่งปี จาก TV Inside Hot Awards 2009
• โล่เกียรติคุณเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ
• รางวัลศิลปินเดี่ยวยอดนิยม จาก Young & Smart Vote Sudsapda Awards 2009
• รางวัลนักร้องชายสุดปลื้ม จาก สื่อมวลชน
• รางวัลนักแสดงชายยอดนิยม จาก คมชัดลึก อวอร์ด 2009
• รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม จาก Top Awards 2009
• รางวัลสุดยอดเพลงดังแห่งปี "เพลง มากมาย" จาก Gmember Awards 2009
• รางวัลสุดยอดศิลปินเดี่ยวแห่งปี จาก Gmember Awards 2009
• รางวัลมิวสิกวิดีโอเพลงไทยสากลดีเด่น "เพลง ฮัก (HUG)" จาก รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 24
• รางวัลขวัญใจมหาชน จาก 9 Entertainment Awards 2010