วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บริการสารสนเทศด้วยระบบอินเตอร์เน็ต


บริการในระบบอินเตอร์เน็ต
เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมด จนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่าง    รวดเร็ว   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต  มีดังนี้
          1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mai l : E-mail) เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกัน  ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย   แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้งานเองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ (E-mail address) เช่น   chaiya3 @yahoo.com 
           2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ในกรณีที่โอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า  ดาวน์โหลด  (down load)   ส่วนการนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเรียกว่าอัพโหลด (up load)
          3.การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ( Telnet ) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายทำให้เรา สามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง  
           4.การสนทนา บนเครือข่าย(chat)  เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือเพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้                                                    
สนทนาด้วยMSN  
                                                                                                       
           5.การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมากฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก 


5.1.ยูสเน็ต (USENET) เปรียบเสมือนกระดานข่าวสารขนาดใหญ่หรือหนังสือพิมพ์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย
5.2.เวยส์ (WAIS) เป็นบริการช่วยค้นข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถถามคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ โดยเวยส์ สามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลทั้งที่เป็นบรรณานุกรมและข้อมูลเต็มรูป (Full Text)
5.3.อาร์ชี (ARCHIE) เป็นบริการช่วยค้นหาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการว่าเก็บอยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าผู้ใช้ต้องการแฟ้มข้อมูลใดก็สามารถค้นซื่อแฟ้มได้จากอาร์ชี เมื่อทราบสถานที่เก็บแฟ้มแล้วก็สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เรียกว่า FTP ต่อเชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลต่อไป โดยอาร์ชี จะแตกต่างจาก เวยส์ ตรงที่ต้องรู้ชื่อโปรแกรมที่ชัดเจนก่อนจึงจะใช้อาร์ชีได้
5.4.ไฮเทลเน็ต (HYTELNET) เป็นการใช้ระหว่างห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ระบบห้องสมุดและบริการข่าวสารของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้
5.5.โกเฟอร์ (GOPHER) เป็นบริการที่ทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดแห่งหนึ่งที่จัดเตรียมเมนู ทำหน้าที่เลือกหาข้อมูลที่ต้องการว่ามีบริการที่ใด โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งในการใช้งาน เพียงแค่เลือกหัวข้อในเมนูและเมื่อพบแล้วก็ใช้บริการได้ทันที


เครดิต : http://torarit.wordpress.com/  ผู้เขียน ศศิมา ธรฤทธิ์

4 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลครอบคลุมดี อ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาน้อยไปนิด น่าจะมีข้อมูลเยอะกว่านี้เพื่อให้คนที่ไม่รู้เรื่องด้านนนี้เ้ข้าใจได้ง่ายกว่านี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แล้วจะลองหาเพิ่มเติมให้นะคะ

      ลบ